top of page

Beethoven violin Sonata No. 5 in F major


Beethoven violin Sonata No. 5 in F major มีชื่อเล่นภายหลังว่า "ฤดูใบไม้ผลิ" อยู่ในช่วงเวลาระหว่างช่วงแรกและช่วงกลางของยุค 1800-1801 และและอุทิศเพื่อCount Moritz Von Fries ในปี 1801 นักวิชาการยังไม่แน่ใจว่าข้อสรุปต้นกำเนิดของชื่อ "Spring" Lewis Lockwood นักวิจัย Fanny Peabody Music of Music มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแสดงให้เห็นว่าชื่อเล่นนี้ใช้โดยปี1860 ซึ่งอาจต้องการแสดงเพื่ออธิบาย คุณสมบัติพิเศษของโซนาต้านี้ว่าความสง่างามไพเราะและทรงคุณค่า น่ารื่นรมย์ ตอบสนองความต้องการในการชื่นชมความงานของธรรมชาติของเเขา

แม้ว่าในบางที่ผลงาานของBeethoven อาจจะมีความคล้ายกับผลงานของ mozart กับ Haydn เค้าจึงพยายามที่จะสร้างแนวเอกลักษณ์ ความโดดเด่นเฉพาะตัว อยู่ในท่อนScherzo ที่อยู่ในท่อนที่ 3 มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและเร้าใจในอารมณ์

ชีวิตของเขาต่างจากโมสาร์ทที่ผลิตงานตามเงินอุปถัมภ์ของรัฐ ทำให้เขามีพื้นที่แสดงออกทางผลงานมากมาย และเคยเขียนเพลงเพื่ออุทิศให้นโปเลียน แต่ต่อมาได้ถอนชื่อนโปเลียนออกจากการอุทิศ

frist movement

เป็นการเปิดตัวด้วยความโดดเด่นของไวโอลิน ที่สดใส สง่างาม ซึ่งแตกต่างกันมากกับการเปิดตัวในเพลง a minor ,op.23 ใช้ประโยคเพลงสสั้นๆsentence 2+4+4 ในกลางของประโยตใช้คอร์ด ii และค้างไปยังห้องถัดไป เพลงของเขาจึงไม่เหมาะที่จะมีประโยคยยาว แต่เขาขยายประโยคที่สอง มาจนห้องที่10 จบด้วยperfect authentic cadence เป็นแนวคิดการใช้ประโยคสั้นๆแล้วขยายความข้างใน

Second Movement

อยู่ในบันไดเสียง Bb major ซึ่งเป็นsub-dominant key จาก first movement เพลงเริ่มด้วยการเล่นมือซ้ายเขบ็ตสองชั้นจากเปียโน แนวไวโอลินใช้การเคลื่อนไหวที่ช้าของ ฮาร์โมนิก เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับประโยคสำคัญที่มาพร้อมกัน ในจังหวะที่เรียบง่าย โดยจากโน้ตที่อยู่ในคอร์ด แต่มีการเพิ่มโน้ตประดับเข้าไปมากขึ้น เพิ่มเพิ่มความน่าสนใจ มีการparallel keys เพื่อเปลี่ยนอารมณ์และสีของเพลง

Third Movement

ท่อนScherzo เป็นท่อนที่ดูร่าเริง สร้างความรู้สึกปนตลก เพราะมีการหยอกล้อท้าท้ายกันระหว่างเปียโนกับไวโอลิน มีรูปแบบฟอร์ม ABA มีการเล่นโน้ตที่สั้น ไล่ขึ้นลงประชันกันไปมา

Fourth Movement

ท่อนrondo อยู่ในคี F major มีรูปแบบ ABACABAD เมโลดี้หลักอยู่ที่ไวโอลิน อยู่ในจังหวะของการเต้นรำที่สนุกสนาน และสง่างาม มีความคล้ายทำนอนการเต้นของฝรั่งเศส มีการเล่นโน้ตเมโลดีหลักที่เหมือนกันแต่มาสลับกัน แต่ในช่วงท้ายมีการเล่นเมโลดี้เดียวกัน เปรียบเหมือนการเรียกและการตอบ


bottom of page