tempo
tempo แปลว่า time) หรือ ลีลา หมายถึงความเร็วในการเล่นเครื่องดนตรี เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประพันธ์งานดนตรี ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และความยากง่ายในการเล่นผลงานชิ้นนั้นๆ
งานประพันธ์ดนตรีแต่ละชิ้น จะระบุเทมโปไว้ที่ตอนต้น ในปัจจุบันจะระบุเป็นค่า [[ครั้งต่อ นาที]] (beats per minute ใช้ตัวย่อ BPM) หมายความว่าโน้ตแต่ละตัว จะต้องถูกเล่นด้วยเป็นจำนวนกี่ครั้งต่อนาที หากงานประพันธ์ชิ้นใดมีค่าเทมโปสูง โน้ตตัวนั้นก็จะต้องเล่นด้วยความเร็วสูงขึ้น ด้วยจำนวนครั้งมากขึ้นในหนึ่งนาที
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ดีทริช นีโกลาส วิงเกล (1780 - 1826) นักประดิษฐ์ชาวดัตช์ได้สร้างเครื่องจับจังหวะ (metronome) ขึ้นในปี ค.ศ. 1812 และได้รับการจดสิทธิบัตรและผลิตออกวางจำหน่ายทั่วไปโดยโยฮานน์ เมลเซล (1772 – 1838) วิศวกรชาวเยอรมัน และได้รับความนิยมหลังจากเบโทเฟนนำมาใช้ในการประพันธ์ดนตรีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1817 เพื่อช่วยเรื่องความถูกต้องในการกำหนดจังหวะดนตรี
ศัพท์ทางดนตรีในการระบุค่าtempo
ในการเล่นดนตรีคลาสสิก มักระบุค่าเทมโปโดยใช้คำศัพท์ภาษาอิตาลี เนื่องจากคีตกวีที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลี และใช้คำศัพท์เหล่านี้มาก่อนการระบุด้วยค่า BPM หลังจากมีการคิดค้นเครื่องจับจังหวะ และยังคงนิยมใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
คำศัพท์พื้นฐานที่ใช้ระบุค่าเทมโป ได้แก่
อะดาจิเอตโต (Adagietto) — จังหวะค่อนข้างช้า (70–80 bpm)
อะดาจิโอ (Adagio แปลว่า "at ease") — จังหวะช้า (66–76 bpm)
อะจิตาโต (Agitato) – จังหวะเร่งรีบ
อัลเลอเกรตโต (Allegretto) — จังหวะเร็วปานกลาง (แต่ช้ากว่าอัลเลอโกร)
อัลเลอกริสซิโม (Allegrissimo) — จังหวะเร็วมาก
อัลเลอโกร (Allegro) — จังหวะเร็วปานกลาง (120–139 bpm)
อัลเลอโกร โมเดอราโต (Allegro moderato) — จังหวะค่อนข้างเร็ว (112–124 bpm)
อันดันเต (Andante) — จังหวะช้าปานกลาง เท่าจังหวะฝีเท้าคนเดิน (76–108 bpm)
อันดันเต โมเดอราโต (Andante Moderato) — เร็วกว่าอันดันเตเล็กน้อย
อันดันติโน (Andantino) – เร็วกว่าอันดันเตเล็กน้อย
ลาร์โก (Largo), เลนโต (Lento) — จังหวะช้ามาก สง่างาม (40–60 bpm)
โมเดอราโต (Moderato) — จังหวะปานกลาง (101-110 bpm)
เพรสทิสซิโม (Prestissimo) — จังหวะเร็วที่สุด (มากกว่า 200 bpm)
เพรสโต (Presto) — จังหวะเร็วมาก (168–200 bpm)